admin

ไมโครโฟนที่ใช้ในการตรวจวัดระดับเสียง

Working standard microphone ไมโครโฟนที่ใช้ในการตรวจวัดระดับเสียง Measurement Microphone ไมโครโฟนที่ใช้วัดเสียงเป็นไมโครโฟนที่ผ่านการสอบเทียบเพื่อใช้กับระบบการวัด เช่น เครื่องวัดระดับเสียง และวิเคราะห์ระดับเสียง ในรูปแบบต่างๆ ไมโครโฟนที่ใช้วัดเสียงเป็นประเภทของไมโครโฟนที่มีความแม่นยำและน่าเชื่อถือมากที่สุด แน่นอนว่าประสิทธิภาพที่สูงของไมโครโฟนเหล่านี้ต้องการมาตรฐานทางวิศวกรรมที่สูงมาก และข้อกำหนดของไมโครโฟนที่ใช้วัดนั้นมีความแตกต่างอย่างชัดเจนจากไมโครโฟนประเภทอื่น ๆ ซึ่งกำหนดโดยมาตรฐาน IEC แต่ไม่มีไมโครโฟนใดที่ถูกสร้างมาได้อย่างสมบูรณ์แบบ นี่คือเหตุผลที่ไมโครโฟนที่ใช้วัดเสียงจะต้องมีการสอบเทียบ เพราะการสอบเทียบทำให้ทราบถึงลักษณะของไมโครโฟน ตลอดอายุการใช้งานของไมโครโฟนว่ามีการเปลี่ยนแปลงสภาพหรือยังสามารถวัดค่าได้อย่างแม่นยำอยู่หรือไม่ Calibration chart ที่มาพร้อมกับไมโครโฟนถือเป็นเอกสารที่สำคัญที่ใช้ไว้อ้างอิง เพื่อให้แน่ใจว่าไมโครโฟนยังคงมีความถูกต้องในระยะเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป ไมโครโฟนที่ใช้วัดเสียงต้องมีลักษณะที่มีความเสถียรเป็นพิเศษ ซึ่งในโลกนี้มีอยู่ไม่กี่ยี่ห้อที่สามารถผลิตไมโครโฟนที่มีคุณภาพสูงได้ เช่น Brüel&Kjær, GRAS, PLACID Instruments, PCB, Microtech Gefell ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในหองปฏิบัติการทดสอบเสียงและงาน R&D ในยุโรป มาตรฐาน IEC61094-4 สำหรับ Measurement microphone ไมโครโฟนจะถูกออกแบบมาตามข้อกำหนดเป็นมาตรฐานสากลที่กำหนดโดยคณะกรรมการเทคนิคไฟฟ้าระหว่างประเทศ (International Electrotechnical Commission, IEC) ซึ่งครอบคลุมข้อกำหนดและวิธีการทดสอบสำหรับไมโครโฟนที่ใช้ในการวัดเสียง โดยจะมีส่วนประกอบภายในที่มีโครงสร้างในการทำงานโดยเมื่อคลื่นเสียงตกกระทบแผ่นไดอะแฟรม และองค์ประกอบของแผ่นโลหะด้านใน Backplate จะเกิดการสั่นสะเทือนและสร้างสนามเสียงและมีการแลกเปลี่ยนประจุที่จะเกิดเป็นแรงดันทางไฟฟ้า แสดงภาพส่วนประกอบภายในของ Measurement […]

ไมโครโฟนที่ใช้ในการตรวจวัดระดับเสียง Read More »

การใช้ Sound Calibrator

การใช้ Sound Calibrator

การใช้ Sound Calibrator (เครื่องกำเนิดเสียงอ้างอิงมาตรฐาน) ที่ได้มาตรฐานตาม IEC60942 ใช้เพื่อปรับเทียบเทียบไมโครโฟนหรือเครื่องวัดระดับเสียง เพื่อตรวจสอบดูว่าระบบการวัดเสียงของเรายังทำงานได้อย่างถูกต้อง และในการวัดหรือทดสอบเสียงทุกครั้งจะต้องใช้ Sound calibrator ในการทวนสอบสามารถทำตามขั้นตอนดังนี้ เตรียมอุปกรณ์ Sound Calibrator หรืออาจจะเรียกว่า Acoustic Calibrator ไมโครโฟนหรือเครื่องวัดระดับเสียงที่ต้องการสอบเทียบ ตรวจสอบสภาพของ Sound Calibrator ตรวจสอบว่าแบตเตอรี่มีพลังงานเพียงพอและเครื่องอยู่ในสภาพดี ไม่แตกหัก ตั้งค่า Sound Calibrator ตั้งค่า Sound Calibrator ให้เป็นระดับเสียงและความถี่ที่ต้องการ (โดยทั่วไปจะเป็น 94 dB หรือ 114 dB ความถี่ 1 kHz) ติดตั้งไมโครโฟนหรือเครื่องวัดระดับเสียง ใส่ไมโครโฟนหรือเครื่องวัดระดับเสียงเข้าไปใน Sound Calibrator โดยแน่ใจว่าตำแหน่งของไมโครโฟนแน่นและตรงตามตำแหน่งที่ถูกต้อง เปิด Sound Calibrator เปิดเครื่อง Sound Calibrator และรอให้เครื่องทำงานเสถียร (ปกติใช้เวลาประมาณ 2-20 วินาที)

การใช้ Sound Calibrator Read More »

ส่งวัสดุทดสอบค่า Sound Transmission Class (STC)

ส่งวัสดุทดสอบค่า Sound Transmission Class (STC)

การทดสอบค่าความเป็นฉนวนกันเสียง ค่า STC ตามมาตรฐาน ASTM E90 หรือ ค่า Rw ตามมาตรฐาน ISO10140-2 หรือเรียกว่า Airborne sound transmission โดยวิธีทดสอบในห้องปฏิบัติการ จะทำได้โดยการนำวัสดุเข้ามาติดตั้งในห้องปฏิบัติการ เช่น ผนัง กำแพงกันเสียง ประตู หน้าต่าง พาร์ติชั่นอื่นๆ ที่ต้องการทดสอบว่ามีความสามารถในการป้องกันเสียงส่งผ่านได้เท่าไหร่ การทดสอบจะติดตั้งวัสดุระหว่างห้องสะท้อนเสียง Reverberation chamber ที่ถูกออกแบบมาให้สร้าง Random sound field โดยสมบูรณ์แบบ ทั้งห้องส่งสัญญาณเสียง และห้องรับสัญญาณเสียง จะมีการแยกโครงสร้างและไม่มีปัจจัยจาก Flanking sound transmission และการรบกวนอื่นๆในการทดสอบ ทางห้องปฏิบัติการ Acoustic Laboratory (Thailand) Co., Ltd. มีความเป็นกลางและปฏิบัติงานโดยความเป็นมืออาชีพในสาขาอะคูสติก ลูกค้าที่ส่งวัสดุทดสอบกับเราจะได้ผลลัพท์ที่มีความถูกต้อง มีความน่าเชื่อถือ เราพร้อมรองรับภาคอุตสาหกรรมผู้ผลิตวัสดุเกี่ยวกับงานอาคาร งานวิจัยพัฒนาด้านวัสดุที่เกี่ยวกับเสียง และผู้ออกแบบอาคารในเชิงสวนศาสตร์   วีดีโอสาธิตการทดสอบ

ส่งวัสดุทดสอบค่า Sound Transmission Class (STC) Read More »

การทดสอบค่าการดูดกลืนคลื่นเสียงของวัสดุ ISO354, ASTM C 423

ห้องปฏิบัติการของเรามีบริการทดสอบค่า Sound absorption testing โดยวิธี Reverberation room method ในการทดสอบการดูดกลืนคลื่นเสียงของวัสดุ หรือโดยทั่วๆไปจะเรียกกันว่าการดูดซับเสียงของวัสดุ ก็หมายถึงการที่เสียงมากระทบวัสดุแล้วสะท้อนกลับออกมาเท่าไหร่ แล้ววัสดุดูดกลืนคลื่นเสียงไปเท่าไหร่ โดยเปลี่ยนไปเป็นพลังงานความร้อนโดยทั่วไปในการทดสอบจะเป็นวัสดุที่ใช้ในงาน ปรับแต่งค่าการสะท้อนเสียงของห้องในงาน Room acoustic design เช่น แผ่นซับเสียง Acoustic panel ฝ้าเพดานซับเสียง Acoustic ceiling พรม ผ้าม่าน วัสดุที่ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ Automotive Application หลักๆ คือการนำวัสดุ Absorptive ไปใช้ในการควบคุมระดับของการสะท้อนหรือความกังวาล – ใช้สำหรับห้องประชุม ห้องบันทึกเสียง ห้องจัดแสดงดนตรี หรือในอาคารทั่วไป– ใช้ในการลดระดับเสียง โดยการลดเสียงสะท้อน เสียงก้องในภาคอุตสาหกรรม– ใช้ในห้องปฏิบัติการ ห้องทดสอบทางเสียง Acoustic laboratory ผลการทดสอบที่ได้ก็จะได้เป็นค่า NRC (Noise Reduction Coefficient) และ SAA (Sound Absorption Average)

การทดสอบค่าการดูดกลืนคลื่นเสียงของวัสดุ ISO354, ASTM C 423 Read More »

สอบเทียบ Acoustic Calibrator

Acoustic calibrator หรือเครื่องกำเนิดเสียงอ้างอิงมาตรฐาน การใช้งานเครื่อง Sound level meter ทุกครั้งเราต้องใช้งานร่วมกับ Acoustic calibrator เพื่อทำการปรับความถูกต้องของเครื่องมือวัด และเครื่อง Acoustic calibrator จะต้องมีการสอบเทียบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อดูว่าเครื่องมือยังสามารถปล่อยสัญญาณอ้างอิงตรงตามมาตรฐาน IEC60942 อยู่หรือไม่ โดยเครื่องกำเนิดเสียงอ้างอิง จะมีอยู่ 3 ชนิด ดังนี้ Sound Calibrator Pistonphone Multi-Frequency Sound Calibrator มาตรฐานการสอบเทียบ Acoustic calibrator เป็นไปตาม IEC60942 โดยจะมีหัวข้อดังต่อไปนี้ Sound Pressure Level, dB Frequency, Hz Total Harmonic Distortion + Noise, % ซึ่งการสอบเทียบในห้องปฏิบัติการของเราจะดำเนินการตามมาตรฐาน IEC60942:2017 ซึ่งจะมีการสอบเทียบตามหัวข้อดังกล่าว และเพื่อสร้างความมั่นใจว่าเมื่อท่านนำเครื่องมือไปใช้ในงานวัดและทดสอบ จะมีการปรับค่าความถูกต้องของเครื่องวัดเสียงได้อย่างถูกต้อง ติดต่อขอรับบริการได้ที่

สอบเทียบ Acoustic Calibrator Read More »

สอบเทียบเครื่องวัดเสียงตามมาตรฐาน

การมีเครื่องมือวัดเสียงที่ได้มาตรฐานก็ต้องมีการสอบเทียบที่ได้มาตรฐานเช่นกัน การเลือกห้องปฏิบัติการสอบเทียบที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO/IEC17025 เป็นสิ่งสำคัญในการเลือกห้องปฏิบัติการสอบเทียบ และยังมีสิ่งที่สำคัญไปกว่านั้นคือ วิธีการและมาตรฐานการสอบเทียบเครื่องมือที่ห้องปฏิบัติการใช้ เครื่องมือวัดเสียงที่ได้มาตรฐานตาม IEC61672-1 การสอบเทียบจะต้องดำเนินการตามวิธี IEC61672-3 ซึ่งหัวข้อการสอบเทียบนั้น ไม่ได้มีแค่เพียงการนำ Sound Calibrator 94dB / 114dB เพียงอย่างเดียว ที่เรียกว่า Indication at the calibration check frequency ยังมีหัวข้อการทดสอบทั้งในภาค Acoustic signal test of frequency weighting และทาง Electrical หรือภาคไฟฟ้า ของเครื่องมือ หัวข้อการสอบเทียบเครื่องมือวัดเสียงที่สำคัญที่ต้องทดสอบภาคไฟฟ้าตามมาตรฐาน IEC61672-3 มีดังต่อไปนี้ Self-generated noise Electrical signal test of frequency weightings Frequency and time weighting at 1 kHz Long-term

สอบเทียบเครื่องวัดเสียงตามมาตรฐาน Read More »

มาตรฐานเครื่องวัดระดับเสียง IEC61672-1 และการสอบเทียบ

มาตรฐาน IEC 61672-1 เป็นมาตรฐานที่กำหนดข้อกำหนดและวิธีการทดสอบสำหรับเครื่องวัดเสียงเพื่อการใช้ในการประเมินระดับเสียงในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ มาตรฐานนี้ถูกพัฒนาโดยคณะกรรมการสากลสำหรับมาตรฐานไฟฟ้า (International Electrotechnical Commission: IEC) เพื่อให้การวัดเสียงมีความถูกต้องและเป็นไปตามข้อกำหนดที่มีความถูกต้องและมีประสิทธิภาพ มาตรฐานนี้รวมถึงเทคนิคการทดสอบเช่นการสะท้อนเสียง Reverberation time หรือ Airborne sound transmission ในอาคาร การทดสอบผลิตภัณฑ์ เช่นวัดค่า SPL, Sound Power หรือการวัดค่าเสียงต่างๆ ที่ตามข้อบัญญัตทางกฎหมาย เพื่อให้ผลการวัดเสียงมีความถูกต้องและสอดคล้องกับการวัดในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ซึ่งมาตรฐานนี้มีความสำคัญอย่างมากในงานวิจัยรวมถึงมาตรฐานกฎหมายที่บังคับใช้โดยหลักแล้วตามมาตรฐานเครื่องวัดเสียงตาม IEC61672 จะมีอยู่ 3 ส่วน ซึ่งสรุปได้ดังต่อไปนี้ ส่วนที่ 1 หรือ IEC61672-1 : Specification เป็นการระบุข้อกำหนดเกี่ยวกับการวัดและการควบคุมเครื่องวัดเสียง เช่น ความไวในการตอบสนอง, ความแม่นยำในการวัด, การควบคุมคุณภาพ, สมการการคำนวณต่างๆในการคำนวณระดับเสียง รวมถึงการตอบสนองของเวลาและความถี่ และข้อกำหนดทางทฤษฎีอื่น ๆส่วนที่ 2 หรือ IEC61672-2 : Pattern evaluation

มาตรฐานเครื่องวัดระดับเสียง IEC61672-1 และการสอบเทียบ Read More »

Acoustic Laboratory (Thailand) Co., Ltd. ได้รับการรับรองห้องปฏิบัติการอย่างเป็นทางการ ผ่านตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการปฏิบัติการสอบเทียบทางเสียง  

[เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ณ กรุงเทพฯ ประเทศไทย] Acoustic Laboratory (Thailand) ผู้นำในด้านบริการสำหรับการทดสอบทางเสียงแห่งประเทศไทย มีความภูมิใจเป็นอย่างมากในการประกาศถึงการได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO 17025 ถือเป็นก้าวสำคัญที่มุ่งเน้นถึงความตั้งใจในการสอบเทียบและงานปฏิบัติการทางเสียงอย่างมีคุณภาพและความน่าเชื่อถือของบริษัทฯ มาตรฐาน ISO/IEC 17025 เป็นมาตรฐานที่ยอมรับในระดับสากล ได้ระบุเงื่อนไขในการรับรองห้องทดสอบและห้องปฏิบัติการ และเพื่อที่จะได้รับการรับรองตามมาตรฐานนั้น ALT ได้ผ่านการประเมินอย่างเข้มงวดจากหน่วยรับรองจาก กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (Ministry of Industry, Thai Industrial Standards Institute) แสดงให้เห็นถึงความยึดมั่นต่อมาตรฐานสูงสุดในการมอบคุณภาพและความแม่นยำในการทดสอบทางเสียง โดยมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ที่ ALT ได้ผ่านการรับรองนั้นครอบคลุมเรื่องการบริการทดสอบทางเสียง ดังนี้ การสอบเทียบเครื่องมือวัดระดับเสียง Sound Level Meter ตามมาตรฐาน IEC61672-1 การสอบเทียบไมโครโฟนสำหรับการวัดเสียง Measurement Microphone ตามมาตรฐาน IEC61094 การสอบเทียบเครื่อง กำเนิดเสียงอ้างอิงมาตรฐาน Sound

Acoustic Laboratory (Thailand) Co., Ltd. ได้รับการรับรองห้องปฏิบัติการอย่างเป็นทางการ ผ่านตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการปฏิบัติการสอบเทียบทางเสียง   Read More »

SPEKTRA ทางเลือกใหม่สำหรับการสอบเทียบและทดสอบเครื่องมือ

“การสอบเทียบเครื่องมือวัดนั้นทำอย่างไร?” “การทดสอบระบบและเครื่องมือวัดต่าง ๆ ยุ่งยากหรือไม่?” หากคุณมีคำถามเหล่านี้อยู่ SPEKTRA พร้อมให้ทางออกในการสอบเทียบและทดสอบเครื่องมืออย่างชาญฉลาด!พวกเราจะอยู่เคียงข้างคุณตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้น นอกจากอุปกรณ์ของคุณจะได้รับการสอบเทียบอย่างถูกต้องและได้ใบรับรองแล้ว หากคุณเป็นผู้ผลิตเครื่องมือวัดที่ได้ทำการสอบเทียบกับ SPEKTRA แล้วได้นำสินค้าออกสู่ตลาด ลูกค้าที่ซื้ออุปกรณ์ของคุณยังสามารถนำมาทำการสอบเทียบกับ SPEKTRA ได้อีกด้วย To a high frequency range. To the rhythm of time.พร้อมไปด้วยกันกับ TESTelligence! https://youtu.be/3Fr8qeKdsNw

SPEKTRA ทางเลือกใหม่สำหรับการสอบเทียบและทดสอบเครื่องมือ Read More »

ทำไมถึงต้องมีการสอบเทียบเครื่องมือวัดเสียง

วิธีสอบเทียบเครื่องมือวัดเสียง ทำไมถึงต้องมีการสอบเทียบเครื่องมือวัดเสียง ในการวัดค่า การทดสอบทางเสียงและสั่นสะเทือนเพื่อให้ได้ผลออกมามีความถูกต้อง สอบย้อนกลับได้ การสอบเทียบเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งจะส่งผลดังต่อไปนี้: ความน่าเชื่อถือ และความแม่นยำ: เครื่องมือวัดเสียงเมื่อมีการใช้งานนานไป ทั้งตัวไมโครโฟนเซ็นเซอร์หรือวงจร จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามระยะเวลาและสภาพการใช้งาน ซึ่งจะทำให้ค่าที่วัดออกมานั้นคลาดเคลื่อน นำไปสู่การแปลผลข้อมูลที่ผิดพลาดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีการวัดที่อยู่ภายใต้ข้อบังคับหรือกฎหมาย โดยเฉพาะเรื่องการวัดระดับเสียงในสิ่งแวดล้อม และระดับเสียงรบกวน เพื่อดูว่าเครื่องมือของเรายังคงเป็นไปตามมาตรฐาน: ในเครื่องมือวัดระดับเสียงตามมาตรฐาน International Electrotechnical Commission (IEC) และ American National Standards Institute (ANSI) จะมีเรื่องของระดับความแม่นยำที่เรียกว่า Class หรือ Type ในการสอบเทียบเครื่องมือจะทำให้เราทราบว่าเครื่องมือของเรายังคงเป็นไปตามมาตรฐานอยู่หรือไม่ หรือมีการตก Class หรือจำเป็นต้องใช้การ Correction ในการวัดหรือไม่ โดยเฉพาะหากต้องรายงานค่าการวัดที่เกี่ยวกับกฏหมายข้อบังคับ หรือการทอสอบค่าตามมาตรฐานต่างๆ ความเที่ยงตรงของเครื่องมือ เมื่อเวลาผ่านไป: หากเครื่องมือวัดมีการสอบเทียบอย่างเป็นประจำตามรอบการสอบเทียบ เราอาจจะสามารถพบว่าตัวเครื่องมือวัดเองมีค่าการวัดเปลี่ยนแปลงไปเป็นเทรนในทางใดบ้าง หรือในกรณีที่ใช้การประเมินความไม่แน่นอนค่า Drift จากการสอบเทียบในแต่ละปีถือเป็นส่วนนึงในการนำมาประเมิน รวมถึงเราจะคาดการณ์ได้ว่าในสภาวะแวดล้อมการใช้งานหรือการเก็บรักษาส่งผลต่อเครื่องมือวัดเราอย่างไร การรับประกันคุณภาพ: การส่งเครื่องมือสอบเทียบตามระยะเวลาเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ ในระบบคุณภาพ นอกเหนือจากที่ต้องดำเนินการสอบเทียบตามข้อกำหนดแล้ว การนำผลการสอบเทียบมาพิจรณาหรือเป็นสิ่งที่ให้ความมั่นใจว่าเครื่องมือที่ใช้เป็นไปตามมาตรฐาน และยังส่งผลต่อชื่อเสียงในองค์กร

ทำไมถึงต้องมีการสอบเทียบเครื่องมือวัดเสียง Read More »